ร่วมระดมความคิดจัดทำโมเดลธุรกิจ"ผู้จัดกิจกรรมฯหัวใจสีเขียว" ส่งเสริมท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ร่วมระดมความคิดจัดทำโมเดลธุรกิจ"ผู้จัดกิจกรรมฯหัวใจสีเขียว" ส่งเสริมท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับภาคเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดทำโมเดลธุรกิจสำหรับ "ผู้จัดกิจกรรมฯหัวใจสีเขียว (Green Heart Event)" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมจิตรลดา ชั้น ๒ โรงแรมเอสดี อเวนิว (SD Avenue Hotel) ที่ผ่านมา นางบงกชรัตน์ โมลี ผู้อำนวยการกองนโยบายการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งชาติ หัวหน้าโครงการ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณชลี โนริยา ที่ปรึกษาโครงการสร้างเกณฑ์มาตรฐานการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม (Calories Credit Challenge: CCC) ภายใต้ BCG Model มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีสนทนากลุ่ม จัดทำโมเดลธุรกิจ ผู้จัดกิจกรรมหัวใจสีเขียว (Green Heart Event Business Model) เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนเกณฑ์มาตรฐานการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม CCC ภายใต้ BCG Model

โดยวิทยากร ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ได้ชวนคิด ชวนแสดงความคิดเห็น ต่อการทำโมเดลธุรกิจฯ ได้รับเกียรติจากภาคีเครือข่ายมากมายได้แก่ คุณชมพูนุท โภชน์มาก ยองใย ผู้แทนกรมการท่องเที่ยว คุณปกาศิต เอี่ยมบุตร ผู้แทนกรมพลศึกษา คุณภัทร์ ศาสตร์ขำ ผู้เทนสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) ดร.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ร่วมก่อตั้งการแข่งขันจอมบึงมาราธอน คุณสุวิทย์ จันทวงศ์ ผู้จัดงาน Ultra Trail NAN 100 คุณทนงศักดิ์ ศุภทรัพย์ ผู้อำนวยการ Park Run Thailand คุณประชารัตน์ แซ่จู ผู้จัดกิจกรรม เบตง21 คุณสยาม กิติบุญญารัศมี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค ซี แอล เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตแก้วน้ำกินได้ในนาม Mr.Cone และ ดร. สรายุทธ มหวลีรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. สยามสปอร์ตซินดิเคท ฯลฯ โดยทุกภาคส่วนรวมพลังความคิดพร้อมขับเคลื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อโลกสีเขียว

จากเวทีสนทนากกลุ่มมีการนำเสนอโมเดลธุรกิจสำหรับผู้จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาหัวใจสีเขียว โดยใจความสำคัญของโมดลธุรกิจฯ คือ การให้ความสำคัญกับที่มุ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสังคม (Eco Social Benefits) ที่คำนึงถึงประโยชน์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือพฤติกรรมที่มีผลสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างงานที่ยั่งยืน การส่งเสริมชุมชนท้องถิ่น และประโยชน์ทางสังคมอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน


ที่มาของภาพ : -
ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsport.co.th
Facebook : siamsport
Twitter : siamsport_news
Instagram : siamsport_news
Youtube official : siamsport
Line : @siamsport