พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพพระราชทาน แด่ พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ ประธานกิตติมศักดิ์คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ที่ ศาลาศาลาสิทธิสยามการ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 พร้อมด้วย พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย, นพ.วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย, นายธนา ไชยประสิทธิ์ หัวหน้าคณะนักกีฬาไทยชุด อชก. 19 นักกีฬาตะกร้อม และ คนในวงการกีฬาไทยเข้าร่วมพิธีรดน้ำศพกันเป็นจำนวนมาก
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพพระราชทานแล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม 3 คืนตั้งแต่วันที่ 23-25 สิงหาคม 2566 หลังจากนั้นจะมีการสวดพระอภิธรรมจนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2566 พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ทีวัดธาตุทอง เวลา 17.00 น.
พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยหลักสูตรเร่งรัด (รุ่นที่ 9) พ.ศ. 2499, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง ,โรงเรียนเสนาธิการร่วม (กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ) และโรงเรียนส่งกำลังบำรุง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 ส.ค.66 รวมอายุ 90 ปี
พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย 6 สมัย (12 ปี), เลขาธิการและเหรัญญิกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 2 สมัย (สมัยละ 2 ปี) กรรมการบริหารด้านกีฬาของทวีปเอเชีย 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี) กรรมการบริหารของ ANOC (5 ทวีปของโลก)และเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งถึง 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ เคยได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2539[6] ต่อมาได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ขณะเดียวกัน ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทยฯ มากถึง 17 สมัย นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมตะกร้อฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2526 หรือเมื่อ 40 ปีก่อน และเป็นผู้ผลักดันในกีฬาตะกร้อเข้าไปบรรจุในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติต่างๆ จนได้รับการยอมรับ และแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ เคยได้รับการแต่งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2539 ต่อมาได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2557 อีกด้วย