ไทยจัดเจ็ตสกีทางไกลชิงแชมป์โลก"พิพัฒน์"มั่นใจเงินสะพัดภูเก็ต320ล้าน

ไทยจัดเจ็ตสกีทางไกลชิงแชมป์โลก"พิพัฒน์"มั่นใจเงินสะพัดภูเก็ต320ล้าน
ไทยจัดเจ็ตสกีระยะไกลชิงแชมป์โลกครั้งแรก ระหว่างวันที่ 16-19 มี.ค. นี้ ใช้เส้นทางรอบเกาะภูเก็ต พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เผย กีฬาตัวอย่างแม้จะเป็นเพียงกีฬาเล็กแต่กลับไปสร้างชื่อเสียงระดับโลกกลายเป็นของเจ้าสิขสิทธิ์จัดการขันชิงแชมป์โลกส่งผลให้ใช้งบจัดเพียงแค่ 32 ล้านบาทเพราะไม่ต้องจ่ายค่าสิขสิทธิ์แต่มั่นใจเงินจะสะพัดภูเก็ตมากถึง 320 ล้านบาท ด้านปริเจต สืบสหการ ผอ.ทัวร์นาเม้นวอเตอร์เจ็ต ย้ำความปลอดภัยนักแข่ง หวั่นเหตุซ้ำรอยที่พัทยา นักกีฬาตกเรือหมดสติและคว่ำหน้าลงน้ำจนเสียชีวิต ศึกครั้งนี้ใช้ชูชีพรุ่นพิเศษ หากตกน้ำและหมดสติชูชีพจะพลิกให้หงายหน้าขึ้น

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานในงานแถลงข่าวการแข่งขัน เจ็ตสกี รายการ WGP#1 Offshore World Championship 2023 หรือการแข่งขันเจ็ตสกีระยะทางไกล นอกชายฝั่ง ชิงแชมป์โลก พร้อมด้วย ดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย และ นายปริเขต สืบสหการ ผู้อำนวยการทัวร์นาเม้นวอเตอร์เจ็ต ที่ชั้น 24 การกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 66

นายพิพัฒน์ กีฬาเจ็ตสกี กล่าวว่า สมาคมกีฬาเจ็ตสกี ถือเป็นตัวอย่างของกีฬาเล็กๆ แต่กลับสร้างความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง ช่วงแรกอาจจะเป็นความสำเร็จของเฉพาะตัวนักกีฬา แต่ปัจจุบัน พัฒนาและเติบโตมาจนกลายเป็นเจ้าของสิขสิทธิ์การแข่งขันระดับโลก ทำให้คนทั่วโลกได้รู้จัก สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวมาสู่ประเทศไทย นี้คือจุดเริ่มต้นการพัฒนามาสู่การเจ็ตสกีระยะไกล มั่นใจว่านักแข่งที่คิดว่าตัวเองมีความแข็งแกร่ง สามารถยืนระยะการขี่ได้ 3-4 ชม. ถือเป็นอีกหนึ่งอีเว้นต์ที่น่าสนใจ และใช้เวลาเพียง 4 ปีแต่ทำทัวร์นาเม้นกีฬาไทยไปสู่ตลาดโลก อย่างเวิล์ดคัพ ที่พัทยาที่ผ่านมา มีการถ่ายทอดสดทางช่องยูโร สปอร์ต ไปยังผู้ชนกว่า 1000 ล้านครัวเรือน 

"ส่วนการแข่งขัน WGP#1 Offshore World Championship 2023  หรือการแข่งขันเจ็ตสกีระยะทางไกล นอกชายฝั่ง ชิงแชมป์โลก ณ ชายหาดเครือโรงแรม ลากูน่า ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 16-19 มีนาคม 2566 กำหนดให้พัฒนาเป็นการแข่งขันโดยใช้เจ็ตสกีไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 3-5 ปี และปั้นให้เกิดประโยชน์ชาติที่ยั่งยืน

ทั้งเป็น "จุดหมายกีฬาโลกทางน้ำ" และใช้นำเสนอความสวยงามเกาะภูเก็ต ในมุมมองใหม่ จากน้ำทะเลใสๆสู่ฝั่ง นำเสนอความถี่เพิ่มบนสื่อทั่วโลก ซึ่งจะออกอากาศหลักทาง EUROSPORT ทั่วยุโรป บนฐานการรับชมกว่า 155 ล้านครัวเรือน"

รมว.กีฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ใช้งบจัดแค่ 32 ล้านบาท เพราะไทยเป็นเจ้าของสิขสิทธิ์ของอีเว้นต์ระดับโลกอยู่แล้ว จึงไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการจัดแข่ง แต่เชื่อว่าระหว่างที่จัดการแข่งขันมีจะมีเงินหมุนเวียนในจังหวัดภูเก็ตมากถึง 320 ล้านบาท นายพิพัฒน์ กล่าว 

ด้านนายปริเขต กล่าวว่าการแข่งขันรายการนี้มี ดาร์กา แรลลี่ แนวคิดมาจาก การแข่งขันรถทางไกลชิงแชมป์โลก ซึ่งเป็นการแข่งขันบนถนนที่มีชื่อเสียงระดับโลก และคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการแข่งขัน เจ็ตสกีระยะไกล โดยจัดจะจัดให้วิ่งห่างชายฝั่ง 2 กม. เพื่อไม่ให้กระทบต่อนักท่องเที่ยวในบริเวณที่ใช้แข่งขัน และเส้นทางแข่งขันจะใช้ส่วนที่สวยที่สุดของเกาะภูเก็ต ให้นักแข่งได้เห็นถึงความสวยงามของทะเลภูเก็ตที่อยู่นอกชายฝั่งว่ามีความสวยงามแค่ไหน 

"ส่วนเรื่องความปลอดภัย เรามีประสบการณ์จากการแข่งขันเวิร์ลคัพ ที่พัทยาเมื่อปลายปีที่แล้ว และมีนักกีฬาตกเรือและร่างกระแทกกัลคลื่นจนเสียชีวิตเพราะหน้าคว่ำลงในน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลักษณะแบบนั้นเกิดขึ้นอีก  การแข่งขันครั้งนี้จะใช้ชูชีพรุ่นพิเศษ ที่ป้องกันการตกเรือ หากมีอุบัติเหตุขึ้นระหว่างตกเรือ และนักกีฬาไม่มีสติ ชูชีพตัวนี้จะพลิกตัวนักกีฬาให้หงายขึ้น ไม่คว่ำหน้าลงน้ำเหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ฉะนั้นการันตีเรื่องความปลอดภัยของนักกีฬา 100 เปอร์เซ็นต์" นายปริเขต กล่าว 

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ แบ่งเป็นกิจกรรมรอบเกาะ ที่เน้นนำเสนอความสวยงาม 1 วัน ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 และการแข่งขันโปร ชิงแชมป์โลก 2 วัน ในวันเสาร์ที่ 18 และอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2566 ซึ่งออฟชอร์ ใช้เส้นทางแข่งขันนอกชายฝั่ง

ห่างฝั่งประมาณ 2-3 กิโลเมตร เป็นจุดที่มีการสัญจรทางน้ำน้อย ระหว่าง "ชายหาดลากูน่า ถึง แหลมพรมเทพ" กำหนดวิ่งไปกลับ 2 รอบ 120 กม. มี มร.ชองค์ บรูโน พาสโตเลโล แชมป์โลกเจ็ตสกีระยะทางไกล ชาวฝรั่งเศษ เป็นเต็งหนึ่ง


ที่มาของภาพ : -
ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsport.co.th
Facebook : siamsport
Twitter : siamsport_news
Instagram : siamsport_news
Youtube official : siamsport
Line : @siamsport