เพื่อส่งเสริมการทดลองโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในประเทศไทย
อีซูซุซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และการใช้ชีวิตในประเทศไทย ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการทดลองโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery-swapping Solution) ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์และพลังงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทยให้สำเร็จได้
มร. ชินสุเกะ มินามิ (Mr. Shinsuke Minami) ประธาน บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น (สำนักงานใหญ่ที่เมืองโยโกฮามา จังหวัดคานางาวะ) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “อีซูซุ” มร. คัตสึยะ นาคานิชิ (Mr. Katsuya Nakanishi) ประธาน บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น (สำนักงานใหญ่ที่เขต ชิโยดะ กรุงโตเกียว) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "MC" ได้ร่วมกันยื่นสมัครโครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” (The Global South Future-Oriented Co-Creation Project) อันเป็นโครงการทดลองขนาดใหญ่ในอาเซียน [i] ของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม เพื่อขอรับเงินอุดหนุนประจำปี 2566 ซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2568 อีซูซุ และ MC จะดำเนินโครงการทดลองในประเทศไทยเพื่อแนะนำโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery-swapping solution) และการเชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า [ii]
JETRO โครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา”(การทดลองขนาดใหญ่ของประเทศสมาชิกอาเซียน) (เงินอุดหนุน)" (6 มิถุนายน 2567) https://www.jetro.go.jp/services/grobal_south/info.html
เพื่อมุ่งหวังที่จะส่งเสริมการลดคาร์บอนในสังคมโดยรวม และสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ยั่งยืนในการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยการเชื่อมต่อและบูรณาการภาคส่วนการผลิตไฟฟ้ากับภาคส่วนการใช้งานอื่นๆ เช่น การขนส่ง โลจิสติกส์ และพลังงานความร้อน
โครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และสนับสนุนกลุ่มประเทศเหล่านี้ให้เป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มประเทศดังกล่าว และใช้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตของตลาดในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในญี่ปุ่นและเสริมสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ
อีซูซุ และ MC ได้ร่วมกันพัฒนาธุรกิจรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2500 อีซูซุได้จัดตั้งโรงงานหลักในการผลิตรถปิกอัพในประเทศไทย 2 แห่งและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งด้วยการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศสูงกว่า 90% เพื่อประกอบและผลิตรถ นอกจากนี้ผู้จำหน่ายรถอีซูซุได้ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้าผ่านกิจกรรมการขายและการตลาด ทั้งรถปิกอัพและรถบรรทุกโดยได้รับความไว้วางใจจากคนไทยในวงกว้างและมีส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วนสูง และได้มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยมาตลอด
ตามนโยบายส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่าน “โซลูชั่นส์อันหลากหลาย” ที่ระบุไว้ในแผนบริหารจัดการระยะกลางของอีซูซุ (“การเปลี่ยนผ่านของอีซูซุ – การเติบโตสู่ปี 2030 หรือ IX”) ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญที่สุดของทั้งสองบริษัท และเป็นผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนโดยรวม ได้รับเลือกให้ดำเนินการในโครงการทดลองนี้
โครงการทดลองนี้จะนำเครื่องมือการใช้งานจริงของโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่เรียกว่า "EVision Cycle Concept [iii]" ซึ่งอีซูซุได้เปิดตัวที่งาน JAPAN MOBILITY SHOW 2023 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มแล้วได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที หลีกเลี่ยงเวลาเสียเปล่าที่เกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) นอกจากนี้การแยกตัวรถและแบตเตอรี่ออกจากกันยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการพลังงานรูปแบบอื่นได้ เป็นต้นว่า การสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการทดลองนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2568 เป็นความร่วมมือจาก 5 บริษัท รวมถึง อีซูซุ, MC, บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จะดำเนินการทดลองจริงโดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Asia จำกัด ในการสนับสนุนกิจกรรมความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศไทยด้วย
ด้วยเป้าหมายในการสร้างสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนทั่วโลก โครงการทดลองนี้จะส่งเสริมการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในส่วนของรถเพื่อการพาณิชย์ให้มีความแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานไฟฟ้า และ เพื่อดำเนินการสร้างระบบพลังงานใหม่ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ อีซูซุ และ MC จึงมุ่งมั่นจะร่วมกันพัฒนาและลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยต่อไป