ม.รามฯจับมือสมาคมนิติศาสตรมหาบัณฑิต จัดอบรมวิชาการเพื่อพี่น้องทนายความ

ม.รามฯจับมือสมาคมนิติศาสตรมหาบัณฑิต จัดอบรมวิชาการเพื่อพี่น้องทนายความ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับสมาคมนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมจัดอบรมวิชาการเพื่อพี่น้องทนายความ เพื่อผดุงความยุติธรรมในคดีให้แก่ลูกความต่อไปในอนาคต

เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก กรุงเทพฯ นายกองตรีดร.ธนพล คงเจี้ยง นายกสมาคมนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "กฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต"

โดยการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย,กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง  เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมสัมมนา

สำหรับการอบรมวิชาการในครั้งนี้มี ท่านอรรณพ ศักดิ์ศิริญดากุล ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค 6,ท่านณัฏฐ์พงษ์ สมศักดิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเดชอุดม (อดีตผู้พิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง) และท่านกาญจนพิฬดา ศักดิ์ศิริญดากุล รองอัยการจังหวัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดแพร่  เป็นวิทยากรผู้บรรยาย โดยมี ว่าที่พันตรี ดร.โยธิน ไพรพนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง,สมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ,สมศักดิ์ อัจจิกุล อดีตนายทะเบียนสภาทนายความ พร้อมด้วยทนายความอาวุโส ศรีพิทยา นวลนิรันดร์,ชัยวัฒน์ ศรีคชา ประธานสภาทนายความจังหวัดฉะเชิงเทรา,ว่าที่ร้อยเอก ชัยยงค์ ตากิ่มนอก,นายทรงศักดิ์ ทองไชย,นายสุเทพ จันทะแจ่ม,นายสำรวล ดอกคำ ท่ามกลางพี่น้องทนายความเข้าร่วมการอบรมสัมมนาในครั้งนี้มากมาย

ก่อนเริ่มการอบรม นายกองตรีดร.ธนพล คงเจี้ยง นายกสมาคมนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงความสำคัญของกฎหมายอาญาทุจริต และเรื่องของการดำเนินคดีอาญาทุจริตรวมถึงการพิจารณาคดี ซึ่งกฎหมายนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายหลายฉบับ ในปัจจุบันข้าราชการส่วนใหญ่จะถูกดำเนินคดีกับกฎหมายนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งข้าราชการเรียกคดีนี้ว่า คดี ป.ป.ช.

ข้าราชการท่านใดที่ถูกดำเนินคดีนี้จะต้องถูกศาลพิพากษาลงโทษ แม้ในบางครั้งข้าราชการไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคดี แต่ในเมื่อถูก ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาก็ต้องไปต่อสู้ในชั้นศาล และคดีส่วนใหญ่ ข้าราชการจะถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด  ปัจจุบันทนายความยังไม่มีข้อต่อสู้เพื่อผดุงความยุติธรรมในคดีให้แก่ลูกความ

ทนายความจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องศึกษาแนวทางการต่อสู้คดีในชั้นศาล จึงเห็นว่าโครงการอบรมในวันนี้มีความจำเป็น และสำคัญมากที่จะได้รับความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งจะมาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม " ดร.ธนพล กล่าว




ที่มาของภาพ : -
ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsport.co.th
Facebook : siamsport
Twitter : siamsport_news
Instagram : siamsport_news
Youtube official : siamsport
Line : @siamsport