แรงกระเพื่อมต่อเนื่องจากความล้มเหลวของ วีเออาร์ ในเกมที่ ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ สเตเดี้ยม
ลิเวอร์พูล ได้เปิดแถลงการณ์เหมือนเป็นการต่อสู้ร้องหาความยุติธรรม
"เราจะพยายามสำรวจตัวเลือกต่าง ๆ เท่าที่เป็นไปได้ เพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นในการยกระดับ และหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้"
ย้อนถึงเหตุการณ์จากวันนั้น คือจังหวะที่ ลิเวอร์พูล ถูกริบประตูจาก หลุยส์ ดิอาซ
มันเกิดข้อกังขาที่ว่า วีเออาร์ ที่ทำหน้าที่โดย ดาร์เรน อิงแลนด์ พลาดที่ไม่กลับคำตัดสินหลังภาพรีเพลย์ชี้ชัด ดิอาซ ไม่ล้ำหน้าแต่อย่างใด
พีจีเอ็มโอแอล หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องผู้ตัดสินทั่วราชอาณาจักรฟุตบอลอังกฤษ ยอมรับตามตรงถึงความผิดพลาดเกิดขึ้น พร้อมระบุว่าเป็น "significant human error" หรือ "ความผิดพลาดของมนุษย์ที่ร้ายแรงมาก ๆ"
แล้วต่อมา อิงแลนด์ ได้ถููกถอดจากการทำหน้าที่ผู้ตัดสินที่ 4 ในเกมคืนวันอาทิตย์ระหว่าง น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ เจอ เบรนท์ฟอร์ด
เท่านั้นไม่พอ เรื่องปรากฏอีกว่า อิงแลนด์ เป็นส่วนหนึ่งในทีมงานผู้ตัดสินอังกฤษ รวมถึง ไมเคิ่ล โอลิเวอร์ ไปรับงานที่ลีกสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตอนวันพฤหัสบดี
ในแถลงการณ์ของ ลิเวอร์พูล เรียกร้องถึงความ -ความโปร่งใสเต็มรูปแบบ- และไม่มีข้อเสนอให้แข่งใหม่ เพียงแต่อยากให้ พีจีเอ็มโอแอล ปล่อยเสียงการสื่อสารระหว่างผู้ตัดสินกับทีมงาน วีเออาร์
แล้วพวกเขาจะค้นหาความจริงได้อย่างไร ? และมุมองทางด้านกฏหมาย จะทำอะไรได้บ้าง
ดิ แอธเลติก นำเรื่องนี้มาวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น
ถามว่า ลิเวอร์พูล สามารถเอาผิดทางกฎหมายได้หรือไม่ ?
แดน แชปแมน หุ้นส่วนและหัวหน้าด้านกีฬากับการจ้างงานของ Leathes Prior บอกว่ามันเป็นเรื่องยากที่ ลิเวอร์พูล จะหาทางฟ้องร้องได้
เขาเผยว่า "สิ่งที่ ลิเวอร์พูล อาจจะทำ และอาจจะได้รับการสนับสนุนจากสโมสรส่วนใหญ่ด้วยก็คือการบอกว่า -มันไม่สามารถยอมรับอะไรแบบนี้ได้อีกต่อไปแล้ว- และ -มันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่องเป็นการด่วน-"
"ถ้ามองกันตามความเป็นจริงนั้นผมมองไม่เห็นหนทางที่จะดำเนินเรื่องทางกฎหมายำได้เลย"
"แต่บางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องทำการฟ้องร้องแบบรุนแรงหรอก คุณต้องการแค่ประเด็นที่สามารถใช้ถกเถียงได้"
"แล้วจากนั้นก็นำมันมาใช้จุดประเด็นสำหรับการเปลี่ยนแปลง"
"ผมมองไม่เห็นทางไหนเลยว่ามันจะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการแข่งขันในเกมนั้น ๆ ได้ เพราะคุณไม่สามารถพิสูจน์ได้หรอกว่าเกมมันจะเปลี่ยนไปหากลูกนั้นถูกนับให้เป็นประตู"
ด้าน ฮันนาห์ เคนท์ ฝ่ายประสานงานระดับสูงในทีมไขข้อพิพาทของ Onside Law เห็นด้วยว่ามันมีโอกาสน้อยมากๆ ที่การฟ้องร้องทางกฎหมายจะประสบความสำเร็จได้
เธอบอกว่า "การตัดสินในสนามมันมักจะไม่ถูกเข้ามาแทรกแซงหลังจากจบการแข่งขันไปแล้ว มันมีข้อยกเว้นเพียงไม่กี่กรณีที่จะทำให้มีการแทรกแซงได้ อย่างเช่นมีหลักฐานว่ามันมีการทุจริตอย่างชัดเจน เป็นต้น"
"เป้าหมายของการฟ้องร้องจะอยู่ที่การขอให้มีการลงโทษอย่างเป็นทางการ หรือไม่ก็ขอให้มีการยกเลิกการแข่งขัน"
"ถ้าเกิด ลิเวอร์พูล พยายามที่จะให้มันกลับมาเตะกันใหม่ล่ะก็ มันก็มีโอกาสน้อยมาก ๆ ที่พวกเขาจะสมหวัง และพวกเขาก็ไม่ได้เรียกร้องขออะไรแบบนั้นด้วย ไม่อย่างนั้นสโมสรอื่น ๆ คงจะพยายามทำแบบเดียวกัน"
ขณะที่ เดฟ กุมาร์ พามะร์ ทนายด้านกีฬาและผู้อำนวยการของ Parmars บอกว่าแถลงการณ์ของ ลิเวอร์พูล เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารที่เป็นการทำเพื่อทำให้พวกเขายังจูงใจคนอื่นได้ และแสดงให้เห็นว่าพวกเขาจะไม่ยอมเป็นเหยื่อแบบเงียบๆ
เขาเองก็บอกเช่นกันว่าการต่อสู้ทางกฎหมายมันแทบไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จเลย
"คุณจะทำอะไรจากการฟ้องร้องได้กัน ? คุณอยากได้เงินเป็นค่าเสียหายจากการฟ้องร้องงั้นเหรอ ? คุณจะเรียกร้องเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ ? คุณจะทำอย่างนั้นตอนจบฤดูกาลเหรอ ? หรือจะทำเพื่ออยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่มีโอกาสได้ทำการตัดสินเกมฟุตบอลอีก ?"
"ถ้าเป็นในกรณีหลังล่ะก็มันก็ควรจะต้องขึ้นอยู่กับการดำเนินมาตรการทางวินัยจากทาง เอฟเอ เอง"
ปิดท้ายที่ สตีเฟ่น เทย์เลอร์ ฮีธ ผู้อำนวยการร่วมของบริษัทกฎหมายด้านกีฬาชื่อ JWM Solicitors เห็นตรงกันว่า ลิเวอร์พูล จะเจองานยากในการที่จะเอาผิดด้านกฎหมาย
เพราะมันไม่สามาถรพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าผลการแข่งขันจะเปลี่ยนไปหากมีการตัดสินให้จังหวะนั้นเป็นประตู
เขายกตัวอย่างของ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด เมื่อปี 2008 มาเป็นกรณีเปรียบเทียบ
ตอนนั้นคณะกรรมการโตตุลาการของ เอฟเอ ตัดสินว่าสาเหตุที่ทำให้ "เดอะ เบลด" ต้องตกชั้นจาก พรีเมียร์ลีก เป็นเพราะตัวของ คาร์ลอส เตเวซ ที่ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ดึงมาร่วมทีมแบบผิดกฎ
เทย์เลอร์ ฮีธ เผยต่อว่า "เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด สามารถโน้มน้าวใจให้คณะกรรมการเชื่อได้ว่าเมื่ออ้างอิงจากตัวเลขต่าง ๆ"
"เตเวซ ก็คือคนที่เป็นเหมือนตัวตัดสินระหว่างการที่พวกเขาจะอยู่รอดปลอดภัยหรือตกชั้น ถ้าคุณสามารถไปถึงจุดนั้นได้แล้วล่ะก็ คุณอาจจะพอมีทางโต้แย้งด้านกฎหมายได้ แต่ถ้ามันเป็นความผิดพลาดจากฝีมือของมนุษย์ที่เกิดจากการตัดสินของกรรมการล่ะก็ จุดยืนทั่วไปคงจะเป็น -เราทำได้แค่ยอมรับมัน-"
.
.
.
แล้วก่อนหน้านี้เคยมีกรณีฟ้องร้องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและความล้มเหลวของกระบวนการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีหรือไม่ ?
มีตัวอย่างมากมายที่ วีเออาร์ เกิดความผิดพลาดในกระบวนการทำงาน
ฤดูกาลก่อน เกิดขึ้นในเกมระหว่าง คริสตัล พาเลซ กับ ไบรท์ตัน
เมื่อทีมเยือนถูกปฏิเสธประตูเพราะ วีเออาร์ โดย จอห์น บรู๊กส์ ตีเส้นแนวรับ พาเลซ ผิดคน จึงทำให้ เปร์วิส เอสตูปิญาน ล้ำหน้ำ
ส่วนเรื่องที่ร้ายแรงสุดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ฮอว์ค-อาย คือเกมที่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด เจอ แอสตัน วิลล่า ตอนเดือนมิถุนายน ปี 2020
เพียงแต่ เชฟฯ ยูไนเต็ด ไม่เคยเดินหน้าต่อในการร้องเรียนประเด็นนี้
บอร์นมัธ เองก็ไม่เคยทำอย่างนั้นเหมือนกันทั้งที่พวกเขาตกชั้นในซีซั่น 2019-20 จากการที่ วิลล่า ได้ประโยชน์จากการที่ระบบฮอว์ค-อาย ตัดสินผิดพลาด
ในการพูดคุยกับ ดิ แอธเลติก หลังเกิดเหตุการณ์เสียประโยชน์
คริส ไวล์เดอร์ ผู้จัดการทีม "ดาบคู่" ในตอนนั้น เชื่อว่าสโมสรควรผลักดันเรื่อวงนี้ให้มากกว่านี้
"เราถอนตัวไปแบบง่าย ๆ"
"บางทีถ้าตอนนั้นเราอยู่ในกลุ่มที่ต้องหนีการตกชั้นแล้วล่ะก็ เราอาจจะเดินหน้าสู้หนักกว่าเดิมสักนิดก็ได้เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในตอนที่ต้องตกชั้นจาก พรีเมียร์ลีก"
"ตอนนั้นเรากลับยอมรับแบบง่าย ๆ ประมาณว่า -ก็ยุติธรรมดี- ทั้งที่เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วนั้นก็ต้องบอกว่ามันไม่ยุติธรรมเลย"
.
.
.
การเรียกร้อง การลุกขึ้นสู้ ไม่ได้เพื่อย้อนกลับให้กลับไปแก้อดีต
เพียงแต่ต้องการให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นต่อจากนี้และตลอดไป
HOSSALONSO