หลังจากบ้านเกลเซอร์ เปิดรับข้อเสนอผู้ร่วมลงทุนในสโมสรครั้งสุดท้ายไปเมื่อวันศุกร์ที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา
ขั้นตอนต่อจากนี้คือการพิจารณาว่าจะเลือกแบบไหนดี
มี2-3 ประเด็นนะครับ
1 การเทคโอเวอร์ จะเกิดขึ้นหรือไม่
2 แล้วถ้ามีการ เทคโอเวอร์ จะเป็นแบบไหน
3 หรือแค่ระดมทุนเพิ่มเท่านั้นเอง
โอเคครับ ประเด็นข่าวที่แรงคือ “เทคโอเวอร์”
มีการประเมินว่าถ้ามีการขายสโมสรนั่นจะทำให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กลายเป็นทีมกีฬาที่แพงสุดในโลกอย่างไม่ต้องสงสัย
แพงสุดหมายถึง "ราคาซื้อขาย" ไม่ใช่ "มูลค่า" หรือ value ของทีม
เจ้าของสถิติล่าสุดคือทีม วอชิงตัน คอมมานเดอร์ส ในศึก NFL ราคา 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 213,500 ล้านบาท แซงหน้า เดนเวอร์ บรองโกส์ เมื่อปี2022 ในวงเงินซื้อขายราคา $4.65 พันล้าน หรือสกุลปอนด์ £3.7 พันล้าน คิดเป็นเงินไทย 155,000 ล้านบาทโดยประมาณ
ส่วนเชลซี ถ้าคิดรวมทั้งราคาซื้อและงบประมาณ ที่มาเติมให้ทีมตามเงื่อนไข คือ 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าคิดเฉพาะราคาซื้ออย่างเดียว 3 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณ
นั่นคือประเด็น "ขาย" หมด 100% นะครับ หรืออาจขายด้วยจำนวนหุ้นมากพอที่จะเปลี่ยนมือจากเกลเซอร์ไปยังกลุ่มทุนใหม่ คาดว่าคือกลุ่มทุนเคมีภัณฑ์ ของเซอร์จิม แรทคลิฟฟ์ ที่ไม่ซื้อ100%
คราวนี้มาดูมูลค่าแมนฯยูไนเต็ดกันก่อน
ในแง่ของธุรกิจแล้ว.....ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค "แนสแด็ก" (NYSE) ประเมินมูลค่าแมนฯยูไนเต็ดเอาไว้เมื่อกลางเดือนก.พ.2023 ที่ผ่านมา อยู่ที่ £3.88พันล้านปอนด์ หรือประมาณ 155,200 ล้านบาท
ราคาประเมินนี้เกิดขึ้นหลังจากข่าวประกาศขายทีมของเกลเซอร์หลุดออกมาแล้วหุ้น MANU (ชื่อบนกระดานหุ้น) ขึ้นระดับ 5-10%
นั่นคือราคาประเมินนะครับ...ส่วนราคาซื้อขายจริงๆ ขึ้นกับเกลเซอร์ พอใจที่ตัวเลขไหน ซึ่งช่วงนั้น สื่อสายธุรกิจกีฬามองว่าราคาประเมิน ไม่ใช่ราคาที่ เกลเซอร์ พอใจแน่นอน
มีการหยิบตัวเลข 5-6 พันล้านปอนด์ มาเป็นตัวตั้งว่านี้คือราคาที่ บ้านเกลเซอร์ ต้องการ
ที่แน่ๆคือ ไม่ว่าเกลเซอร์ จะขายราคาไหน พวกเขารับเละๆ เลย จากเมื่อปี 2005 ที่พวกเขาไปกู้เงินบริษัท นอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity) มาซื้อสโมสรในราคาแค่ £ 800 ล้าน เท่านั้นเอง
สายเลือดยิวววว ไม่เกรงใจใครอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องการเงิน
คราวนี้มาดูการยื่นข้อเสนอตามกรอบเวลาที่ บ้านเกลเซอร์ กำหนด 3 รอบ!!
ข้อเสนอรอบแรก 18 ก.พ.
หลังจากเป็นข่าวเรื่องการหาผู้ร่วมทุนช่วงปลายปี 2022 ถึงกลางเดือนก.พ. ที่ผ่านมา The Raine Group ธนาคารเพื่อการลงทุน ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก บ้านเกลเซอร์ ได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบข้อเสนอนักลงทุนที่ยื่นข้อเสนอเข้ามาทั้งเป็นผู้ร่วมทุนหรือแม้กระทั่งกวาดซื้อหุ้นไปบริหารต่อจาก เกลเซอร์ แฟมิลี
การยื่นข้อเสนอครั้งแรก ตามกรอบเวลาภายในเวลา 10.00 PM หรือสี่ทุ่มตามเวลาอังกฤษ (อังกฤษจะไม่ใช่เวลา 24 ช.ม.แบบบ้านเรา) หรือตรงกับเมืองไทยประมาณตีห้าเช้าวันเสาร์ที่ 18 ก.พ.
นั่นคือข้อเสนอรอบแรก เพื่อเปิดทางให้กลุ่มทุนต่างๆได้เข้าไปดูข้อมูลการเงินทั้งหมดของสโมสร หลังจากยื่นข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว
หลักๆก็มี เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ กลุ่มทุนเคมีภัณฑ์ Ineos (ย้อนอ่านประวัติในเพจJackie ช่วงก.พ.ได้) และพลังงานเศรษฐีชาวอังกฤษ กลุ่มทุนกาตาร์โดย ชีค ยาสซิม บิน อาหมัด อัลธานี และมีอีกสามสี่กลุ่มทุนธุรกิจ ที่ยื่นข้อเสนอการเงินให้ The Raine Group พิจารณา ก่อนส่งต่อให้ บ้านเกลเซอร์
ณ จุดนั้นทุกอย่างเป็นไปได้หมดทั้งร่วมทุนและเทก โอเวอร์ ...ด้วยเพราะการตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนมาช่วยตรวจสอบนั่นคือการเตรียมตัว "ขายหุ้น" จะมากหรือน้อย หรือไปจนถึงการขายหุ้นของทั้งบ้านเลยก็ได้
แม้ข่าวที่ออกมานั้น...หมายถึงบ้านเกลเซอร์ พร้อม "ขายกิจการ" แต่สื่อสายธุรกิจกีฬาทั้งฟากอเมริกันและยูเค มองได้ 2 ประเด็นครับ
1 ขาย100%
2 ขายไม่ 100% แต่ตัวเองไม่เป็นเจ้าของ อาจถือหุ้นไว้ส่วนหนึ่ง ร่วมบริหารเท่านั้น
ข้อเสนอรอบสอง 22 มีค.
รอบสองนำโดย เซอร์ จิม และ ชีค ยาสซิม บวกกับอีกสี่ห้าบริษัทด้านการเงินจากสหรัญอเมริกา ซึ่งตามกรอบเวลา คือ 5 โมงเย็นที่นิวยอร์ค หรือ 3 ทุ่มที่อังกฤษ ของวันที่ 22 มี.ค.
กลุ่มทุนนอกเหนือจากสองกลุ่มใหญ่แล้วยังมีชื่อ Elliott Management, Ares, MSD Partners และ Oaktree Capital
รอบสองนี้สื่อเริ่มมองเห็นแนวทางว่า บ้านเกลเซอร์ ไม่ได้แสดงท่าทีว่าจะขายหุ้นทั้งหมด อาจตัดสินใจขายบางส่วนก็ได้ และใช้เงินก้อนที่ได้มานี้มาชำระหนี้ของ สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด LTD ที่เป็นหนึ่งในบริษัทลูก 5 บริษัท ของ บริษัท แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด PLC ที่มีชื่อบนกระดานหุ้นนิวยอร์คว่า MANU นอกจากชำระหนี้แล้วก็ลงทุนเพื่อพัฒนาทีมต่อไป...
รอบนี้ The Raine group และ บ้านเกลเซอร์ ใช้เวลาสัปดาห์หนึ่งในการตรวจสอบข้อเสนอ ก่อนที่จะตัดสินใจเดินเกมหมากต่อไปว่าเอาไงดี
จากนั้นช่วงกลางเดือนเม.ย. จึงมีการประกาศการยื่นข้อเสนอรอบสามภายใน 28 เม.ย.
ณจุดนี้เอง...ทุกคนพอมองเกมของเกลเซอร์ ออกแล้วว่า การยื่นข้อเสนอทั้งราคาหุ้น และราคาขายของสโมสร น่าจะยังไม่เป็นที่พอใจแก่ บ้านเกลเซอร์ นั่นจึงทำให้ต้องมีการยื่นข้อเสนอในครั้งที่สามคาดว่าน่าจะเป็นครั้งสุดท้าย
ตัวเลขตั้งแต่แรกคือ £4 พันล้าน ไม่ใช่ละ อย่างที่สื่อสายธุรกิจกีฬาอังกฤษระบุว่า บ้านเกลเซอร์ น่าจะต้องการเงินสูงถึง £5-6 พันล้านด้วยซ้ำ ยังไงก็ไม่ต่ำกว่าก้อนนี้แน่ๆ หากจะขาย
รอบสุดท้าย....28 เม.ย.
เส้นตายเมื่อวันศุกร์ที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมาคือรอบที่สามซึ่งคาดว่าเป็นรอบสุดท้ายขของการรับข้อเสนอจากผู้ร่วมลงทุน อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสรุปได้เป็นสองแบบด้วยกันสำหรับการร่วมลงทุนในทีมแมนฯยูไนเต็ด
ตามข้อมูลมีผู้ยื่นข้อเสนอให้เกลเซอร์ 2 แบบ
1เทคโอเวอร์ สองรายคือ ชีค ยาสซิม&เซอร์ จิม
2 ซื้อหุ้นบางส่วนมี3 ราย
Elliott Management
The Carlyle Group
Ares Management
แบบสองไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก เพราะหากมาร่วมลงทุนคงซื้อหุ้นบางส่วน ไม่ได้ต้องการเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร ซึ่งมีสามบริษัทเงินทุน แต่แบบแรกนี่แหละ น่าสนใจที่สุด
เงื่อนไขของ ชีค ยาสซิม กลุ่มทุนกาตาร์ จาก £4 พันล้านในครั้งแรกเพิ่มทุนเป็น £5 ล้านในสองครั้งหลังสุด ด้วยเงื่อนไขเทคโอเวอร์เบ็ดเสร็จ 100% พร้อมทั้งปลดหนี้ในส่วน บริษัท แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เอฟซี อีกด้วย
ส่วนทางด้าน เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ นั้นยื่นซื้อเพื่อเทคโอเวอร์จำนวน 69%
มองตัวเลขนี้ดูเหมือนเป็นรองทางฝั่ง ชีค ยาสซิม แต่ข้อเสนอ เซอร์ จิม กับโดนใจ บ้านเกลเซอร์ มากกว่า เมื่อเซอร์ จิม ต้องการคอนโทรลสโมสรในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ใช่เจ้าของทีมแบบเบ็ดเสร็จ
ข่าวล่าสุดจากหลายสื่อหลักรายงานว่า....เซอร์ จิม ให้มูลค่าต่อหุ้นสูงกว่า ชีค ยาสซิม มุมนี้ยิ่งโดนใจ บ้านเกลเซอร์ ที่ต้องการผู้ร่วมทุนรายใหม่มาระดมทุนให้สโมสร โดยที่พวกเขายังมีบทบาท (ในการโกยเงิน) เชิงบริหารด้วยส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ว่าขายให้หมด100%
ดังนั้นข่าวพาดหัวจึงระบุว่า เซอร์ จิม คือตัวเต็งในการกวาดหุ้นใหญ่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แทนบ้านเกลเซอร์ ซะแล้ว
ถ้าออกมาแบบนี้แฟนแมนฯยูไนเต็ด....ไม่แฮปปี้แน่นอน เพราะปลิงยังคงเกาะอยู่ สิ่งที่อฟนผีต้องการคือ
1 Glazer Out
2 full sale only
หมากของบ้านเกลเซอร์
ผมเคยเขียนไปเมื่อกลางเดือนก.พ. ช่วงยื่นข้อเสนอรอบแรก ผ่านมาสองเดือนครึ่ง ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายว่า บ้านเกลเซอร์ กำลังเดินเกมอะไรอยู่
3 แนวทางตามการวิเคราะห์สื่ออังกฤษ
1 ไม่คิดขาย100%
2 เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ เข้าทาง เกลเซอร์ คือซื้อ69% แล้วกด้สิทธิ์บริหารทีม ส่วนพวกเขาอาจถือไว้ระดับ20-25%
3 ขายหุ้นให้ผู้ร่วมทุนรายใหม่ บางส่วน 10-15% เท่านั้น
ตรงนี้สื่ออังกฤษมองต่างมุมกัน แต่ส่วนใหญ่มองไปที่ "ขาย" เพียงแต่ไม่น่าจะขายหมด 100% ครับ ด้วยปัจจัยเหตุผลที่
บ้านเกลเซอร์ ทั้ง 6 หุ้น โจ ,อฟราม, เอ็ดเวิร์ด, เควิน, ไบรอัน และ ดาร์ซีย์ มีแค่ 2 คน คือ โจ และ อฟราม อยากโกยเงินแมนฯยูไนเต็ดต่อ ส่วนอีก 4 ไม่อยากทำแล้ว อยากขายมากกว่า ซึ่งล่าสุดบ้านเกลเซอร์ ถือหุ้นในแมนฯยูไนเต็ดจำนวน 69% จากเดิม 98% นะครับ
จากระยะเวลา 17-18 ปีหลังกู้เงิน £800 ล้าน เมื่อปี 2005 เพื่อใช้เทก โอเวอร์ แมนฯยูไนเต็ด ก่อนเพิ่มมูลค่าสโมสรถึงระดับ 5-6 พันล้านปอนด์ แม้เรายังไม่รู้ตัวเลขที่แน่นอน แต่เราพอมองเห็น "กำไร" ที่ บ้านเกลเซอร์ กอบโกยจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทั้งในส่วนของ "ตลาดหุ้น" และ "รายได้" ของทีมฟุตบอล
ในระดับ170,000 ล้านบาท และน่าจะได้เงินเข้ากระเป๋าอีกมโหฬาร บ้านเกลเซอร์
ดูตามรูปการณ์แล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มใหม่ น่าจะเป็นเซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ 69% โดยที่ โจ กับ อฟราม เกลเซอร์ จะยังคงถือหุ้นส่วนหนึ่ง
ดูเหมือนการสวาปาม “มูลค่า” แมนฯยูไนเต็ดของ เกลเซอร์ แฟมิลี่ จะดำเนินอยู่ต่อไป…
ดังนั้นแฟนผีคงจะดีใจได้แค่ครึ่งเดียว…..เท่านั้นเอง
JACKIE
ข้อมูลบางส่วน
The Financial Times, BBC, The Telegraph, CNN, The Guardian UK, The Athletic UK