อุ่นเครื่องก็คืออุ่นเครื่อง....แต่นี่คือแมตช์ที่สองแล้วที่ลูกทีม ฮันส์ซี่ ฟลิค โดนญี่ปุ่นสอยร่วง
จากฟุตบอลโลก 2022 เมื่อ 23 พ.ย. ปีก่อน
ขุนพลอินทรีเหล็ก เยอรมนี แพ้ ญี่ปุ่น 1-2
เยอรมนี ได้จุดโทษก่อนจาก กุนโดกัน ญี่ปุ่น ยิงช่วง15 นาทีสุดท้าย ริตสึ โดอัน และ อาซาโนะ โดยเยอรมนี ตกรอบแรกฟุตบอลโลกเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน....
โค้ชคนเดียวกัน ฮันส์ซี่ ฟลิค กับ โมริยาสุ
นักเตะชุดเดียวๆกันนี่แหละ ต่างบางตำแหน่ง
เยอรมนี ; นอยเออร์ ; ซือเล่, รือดิเกอร์, ชลอตเตอร์เบค, รอม
; คิมมิช, กุนโดกัน
;นาบรี, มุลเลอร์, มูเซียล่า
; ฮาแวร์ตส์
ญี่ปุ่น ; กอนดะ ; นากาโตโมะ, โยชิดะ, อิตากูระ, ซากาอิ
; ทานากะ, เอ็นโด้
; คูโบ, คามาดะ, อิโตะ
; มาเอดะ (หลวงพี่)
ล่าสุดนัดอุ่นเครื่องเมื่อคืนวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา
เยอรมนี แพ้ ญี่ปุ่น 1-4 ที่โวล์ฟบวร์ก
ญี่ปุ่นนำก่อน 1-0 น.11จาก อีโตะ ซาเน ตีเสมอให้เยอรมนี น
19 จากนั้น อูเอดะ ยิงนำ 2-1 น.22 ก่อนช่วงนาทีสุดท้ายและทดเวลา นักเตะเยอรมนี พลาดโดนอีกสองลูก อาซาโนะ น.90 และ ทานากะ น.90+2
แม้ครองบอลมากกว่า....แต่เยอรมนี แทบไม่ได้สร้างโอกาสอะไรมากมาย เพราะญี่ปุ่นเน้นเกมรับอย่างเหนียวแน่น รอจังหวะอย่างใจเย็น และไม่มีผิดพลาด ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่....จะอุ่นเครื่องหรือในบอลโลกที่ผ่านมา อินทรีเหล็กก็แพ้ทั้งสองเกม
วันนี้มีคำถามแล้วว่านักเตะเยอรมนี และการผลิตนักเตะของบุนเดสลีกา นั้นได้ของคุณภาพมาติดทีมชาติมากน้อยขนาดนี้ ลักษณะคล้ายๆกับช่วงก่อนที่ เจอร์เก้น คลินส์มันน์ และผู้ช่วย โยกี้ เลิฟ มารับงานก่อนบอลโลก 2006 สองปี ก่อนสร้างทีมจนกลับมายิ่งใหญ่ในยุคของ เลิฟ ทั้งเข้าชิง, รอบรองชนะเลิศ ทั้งยูโรและบอลโลก จนได้แชมป์บอลโลก 2014 ใช้เวลา8 ปีเต็มของการสร้างทีมชาติที่นักเตะบุนเดสลีกาของพวกเขาเริ่มแข็งแกร่งอีกครั้ง
จนถึง 4 ปีล่าสุดนี่แหละ ที่เยอรมนี เริ่มพบกับความล้มเหลว
โจชัว คิมมิช พูดหลังแพ้ญี่ปุ่นเละเทะว่า "พวกเราสมควรแพ้ เราเล่นไม่ดี โดยเฉพาะครึ่งหลังแทบไม่ถึงแดนสาม มันมีคำถามถึงคุณภาพของพวกเราที่ต้องยอมรับ และเราคงจะต้องต่อสู้เพื่อกลับมา"
เยอรมนี ชุดแรก
แตร์ สเตเก้น ; คิมมิช, ซือเล่, รือดิเกอร์, ชลอตเตอร์เบค
; ชาน, กันโดกัน
; ซาเน, เวิร์ตส์, นาบรี
;ฮาแวร์ตส์
ส่วนญี่ปุ่น นั้น11 คนแรกญป เล่นในเจลีก 1 คน
GK : โอซาโกะ
; ซูกาวาระ,อิตากูระ, โทมิยาสุ, ฮิโรกิ อิโตะ
; โมริตะ, เอนโด้
;จุนยะ อีโตะ, คามาดะ, มิโตมะ
; อูเอดะ
ญี่ปุ่นชุดนี้นั้น11 คนแรกเล่นในเจลีก คนเดียว
ผู้รักษาประตู เกอิสุเกะ โอซาโกะ (ซานเฟรเซ ฮิโรชิมา)
พรีเมียร์ลีก : มิโตมะ, เอนโด้, โทมิยาสุ
บุนเดส: อิตากุระ (กลัดบัค), ฮิโรกิ อีโตะ (สตุตการ์ท)
ดัชท์; ซูกาวาระ (AZ),อูเอดะ (เฟเยนูร์ด)
โปรตุเกส : โมริตะ (สปอร์ติ้ง)
ฝรั่งเศส: จุนยะ อิโตะ (แรงส์)
กัลโช่; คามาดะ (ลาซิโอ)
ถ้าดูทั้งทีมนักเตะญี่ปุ่นชุดอุ่นเครื่องเยอรมนี 23 คน
เล่นในยุโรป 20 คน ในเจลีก3 คน ไม่รวมกับตัวที่ทั้งเคยเรียกและไม่ติดทีมชาติญี่ปุ่นในลีกยุโรปเกือบ 50 คน
มาตรวัดง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดิน
ถ้าบอลลีกตัวเองยังไม่แข็งแรง
ก็ต้องมีนักเตะฝีเท้าดีได้ไปเล่นในลีกที่แข็งแกร่ง ยุโรป, ละติน, เจลีก, MLS หรือ ซาอุ โปร ลีก ก็ได้นะ
คิดง่ายๆว่า บุนเดสลีกาแข็งแกร่งขนาดไหน....หลายช่วงจังหวะเวลาของทีมชาติพวกเขาก็ยังไม่แข็งแรง นับจากแชมป์บอลโลก 1974 พวกเขาก็ตกต่ำลง จนถึงยุค จุปป แดร์วัลล์ ตกรอบยูโร 84 ได้ ฟรานส์ เบคเคนบาวเออร์ "ทีมเชฟ" มาทำทีมจนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
จนวันนี้พวกเขาถดถอยอีกครั้งหลังหมดบอลโลก 2014 (ตกรอบแรกบอลโลกสองสมัยติด) กระทั่งแพ้ญี่ปุ่น ชาติที่พัฒนาฟุตบอลช้ากว่า แต่มาด้วยแนวทางที่ถูกต้องตามหลักการสร้างฟุตบอลแบบสากล
ดังนั้นชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาบอลทั้งลีกอาชีพ ให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ทีมชาติแข็งแรงนั้น คงจะต้องเร่งพัฒนาการทำงานทั้งองค์กรฟุตบอล+ฟุตบอลลีกอาชีพ...
หมายถึง นักบริหารองค์กร+คนฟุตบอล ที่รู้จริง มีปสก เข้ามาร่วมทำงานเพื่อร่วมกันพัฒนาอย่างถูกต้องตามหลักสากล วางรากฐานกันให้มันต่อเนื่อง ปูให้มันแน่นๆ เพื่อก่อเกิดระบบ ให้ใครก็ได้มาทำงานแล้วสานงานต่อยอดไปได้
ไม่ได้พึ่งใครคนใดคนหนึ่ง เพราะการสร้างฟุตบอลอย่างที่เจลีก, เคลีก เดินตามรอยยุโรป ไม่มีใครเก่งคนเดียว ต้องทำทั้งระบบ
ใช่ครับ...ผมเขียนวิพากษ์ที่ดูเหมือนง่ายแต่มันก็มาจากการได้รู้ ได้เห็น ตลอดการทำงานในประเทศที่มีบอลอาชีพในยุโรปตลอด 30 ปี ของการเป็นนักข่าว และนำมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาฟุตบอล
ดังนั้น......ช่วงนี้เราก็เชียร์และอิจฉา ญีปุ่นไปพลางๆก่อนครับ
JACKIE