ในฐานะคนข่าวที่เคยไปกินซกเล็กวัวกระทิงเมื่อปี 1994
ย่อมไม่พลาด เอล กลาซิโก เที่ยวล่าสุดในซานติอาโก เบร์นาเบว....
ถ้าถามว่าอะไรคือปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้อย่างยับเยินครั้งนี้ของราชัน
ผมขอสรุปได้ 4 ข้อหลักๆ.....
ที่สำคัญขอบอกว่า เรอัล มาดริด ไม่ได้แย่ เละเทะเหมือนสกอร์ 0-4 นะครับ
มันมีเหตุและผลในความพ่ายแพ้ ตามปัจจัยที่ผมสรุปได้ดังนี้...
1 เรอัล มาดริดไม่คม+เปนย่า โคตรเซฟ
จะว่าไปครึ่งแรกเป็นครึ่งที่ เรอัล มาดริด ออกตัวได้ดีกว่า เล่นเอาทีมเยือนดูติด ขัดไปหมด ครองบอลได้แต่ไม่คุกคาม ตรงกันข้าม การเพรสแดนบน และไฮไลน์ ดีเฟ้นส์ ของ บาร์ซ่า เกือบโดนลงโทษจาก วินิซิอุส, เอ็มบัปเป้ แต่...ดันยิงไม่ได้กันไปเอง รวมทั้ง เบลลิงแฮม อีกคน
ทั้งที่มีจังหวะหลุดไปสับไก ออกข้าง, ข้ามคาน, ติดเท้า เปนยา
ขอเพียงมีความเด็ดขาดในการยิง...น่าจะออกนำก่อนด้วยซ้ำ ในครึ่งแรก
เมื่อลงโทษคู่ปรับตลอดกาลไม่ได้...เท่ากับโอกาสนั้นหลุดลอยไป
2 กับดักล้ำหน้า ฮันส์ซี ฟลิค "เวิร์ค" อย่างยิ่ง
ข้อนี้ผมยกว่าสำคัญเลยนะครับ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ความคมลดลง
อาจเป็นผลพวงมาจากการวาง "กับดักล้ำหน้า" ของ ฮันส์ซี ฟลิค
ที่กล้าเสี่ยงดันแบ๊กโฟร์ เปิดพื้นที่ด้านหลัง วัดใจการใช้ความเร็วของ...
วินิซิอุส และ เอ็มบัปเป้
ผลคือ...20 นาทีแรก ล้ำหน้าไป 8 ครั้ง เฉพาะประธานเป้ คนเดียว 4
หนึ่งในนั้น เอ็มบัปเป้ เดี่ยวแล้วยิงเข้าแต่ก็ล้ำหน้า
ทั้งเกม 90 นาที เรอัล มาดริด โดนกับดักล้ำหน้า 12 ครั้ง
อะไรคือคุณประโยชน์ของ "กับดักล้ำหน้า" หรือ offside trap
แม้โค้ชจะบอกอยู่เสมอว่า ล้ำหน้า 10 ครั้ง ยิงเข้า 1 ครั้งถือว่าคุ้ม
แต่ในทางตรงกันข้าม...
การล้ำหน้าบ่อยๆ มันคือการทำให้พวกกองหน้าความเร็วสูง "เสียความมั่นใจ"
ด้วยกติกาที่ตีธงล้ำหน้าจนจบการเล่นนั้นๆ แล้ว ทำให้ ความไม่มั่นใจเกิดขึ้น
จึงเห็นได้ว่า ทั้ง วินิซิอุส และประธานเป้ ยิงไปติดเซฟ เปนยา จากจังหวะที่น่าจะเข้า
หลุดเดี่ยว...ไปแล้ว นี่เรากำลังล้ำหน้าหรือเปล่า
โดนบ่อยๆ ในเกม ไม่เป็นผลดี
อีกทั้งมันคือแทกติกพื้นฐานตั้งแต่โบราณฟุตบอลมาแล้วครับ เรื่องนี้
ไม่ใช่เรื่องใหม่ แค่ว่า "ซ้อม" แล้วนำมาใช้สนามจริงดีขนาดไหน
ที่ต้องยกนิ้วโป้งให้ ฮันส์ซี ฟลิค ก็คือเรื่องนี้ แต่ผมมั่นใจว่าเหตุผลคือ...
เขาต้องการจำกัดความอันตรายของ วินิซิอุส jr และ ประธานเป้ ลง
ด้วยแทกติกกับดักล้ำหน้า
3 ฟลิคโชว์แก้เกม
การวางกับดักล้ำหน้า...ช่วยให้ลดอันตรายลงในครึ่งแรก
แต่เกมรุกของบาร์ซ่าไม่ไปไหนเช่นกัน จะว่าไปก็เกือบโดนยิงด้วยซ้ำ
พักครึ่ง....ฟลิค แก้เกมด้วยการถอดเด็กสร้างตัวรุก เฟร์มิน โลเปส ออก
ส่งกัปตันตัวจริง เฟรงกี เดอ ย็อง ผู้ปฏิเสธย้ายมาแมนยู ลงคุมเกม
นั่นทำให้ เดอ ย็อง ยืนหน้าคู่เซนเตอร์ เพิ่มมิติในการเพรสแดนกลาง
ให้ เปดรี และ กาซาโด (เด็กสร้างบาร์ซ่า)
จากนั้นปรับวิธีการเล่นด้วยการลดการครองบอลมากจังหวะลง
พร้อมรอจังหวะบอลทะลุทะลวง ล่อให้เรอัล มาดริด ขึ้นเพรสแดนบน
ประมาณ 10 นาทีนับจากเขี่ยครึ่งหลังมันเห็นผลทันตา กับประตูแรก
และได้ประตูที่สองเร็วในสองนาที.....
ลูก 3และ 4 ก็คือการแก้เพรส ราชันได้ ย้อนวางหลังไลน์ได้หลุดเดี่ยว
4 แนวรุกบาร์ซ่าคมกริบ
การแก้เกมก่อให้เกิดประตูทั้ง 4 ลูกในครึ่งหลังล้วนๆ จบได้เด็ดขาดเหลือเกิน
1-0 น.54 เลวานดอฟสกี้ เดี่ยว แปนิ่มๆเสียบเสาแรก
จากการจ่ายทะลุคู่เซนเตอร์ มิลิเตา-รือดิเก้อ ของมิดฟิลด์เด็กสร้าง การ์ซาโด
2-0น.56 เลวานดอฟสกี้ขึ้นโหม่งสะบัดเสียบเสาจากการครอสของ..
อเลกส์ บัลโด แบ๊กซ้ายเด็กสร้างอีกคน
นี่ถ้า...เลวานดอฟสกี้ ไม่แปชนเสา, ยิงข้ามคาน เขาน่าจะได้แฮทริก
3-0 ยามาล น. 77 ลูกแรก ในเอล กลาซิโก้ ด้วยวัย 17 ปี 106 วัน
จังหวะแอสซิสต์ ของราฟินย่า ไหลให้ ก่อนจับเข้าขวาแล้วสับไกเสียบเสา
4-0 น.84 ราฟินญา บอลยาวจาก เซนเตอร์แบ๊ก มาร์ติเนส ที่แก้เพรส
ด้วยการวางบอลหลังไลน์ ก่อน ราฟินญา ชิงจังหวะตัดหน้า บาสเกส...
หลุดเข้าไปกระดกข้ามหัว ลูนิน
นั่นคือภาพรวมทั้ง4 ปัจจัยที่ส่งผลให้ บาร์ซ่าบุกถล่มเรอัล มาดริด 4-0
มีสถิติบันทึกหลายเรื่อง...
- ชัยชนะ เอล กลาซิโก้ แรกของ ฮันส์ซี ฟลิค
- เจ้าหนู ลามีน ยามาล ยิงประตูในเอล กลาซิโก ได้แล้ว
อายุ 17 ปี 106 วัน....น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์
- นอกจาก ยามาล แล้วชุดแรกมีเด็กสร้างบาร์ซ่าตั้ง 6 คน
เกมรับ เปนย่า ประตู, คูร์บาซี, บัลโด
แดนกลาง กาซาโด, โลเปส
ตัวรุก ยามาล
-สถิติไร้พ่าย 42 นัดของเรอัล มาดริด จบลงแค่นี้ (2023-24)
ไม่เทียบเท่าบาร์ซ่า 43 นัด (2017-18)
อ้อ...ฟลิค คุมบาร์ซ่าทุกถ้วย 14 เกม
ชนะ 12 ยิงไป 47 ลูก
สองเกมล่าสุดกดบาเยิร์นและเรอัล มาดริด สองทีมใหญ่ทีมละ 4 ลูก
ทั้งหมดนี้คือเบื้องลึก #ElClasico
โดยคนข่าวผู้เคยเดินทางไปกินซกเล็กวัวกระทิงเมื่อปี 1994 ครับ
JACKIE